Saturday, May 31, 2014

ค่ายจิตตปัญญาสำหรับเด็ก “ปลุกฝัน” ตอน “กำเนิดสุดสาคร”

ค่ายนี้จัดโดยครูเหล่นแห่งบ้านขวัญเอย เป็นค่ายที่น่าสนใจมากค่ายหนึ่งและแม่คิดว่าซันน่าจะชอบ ซึ่งก็เป็นไปตามที่คาด

“เรามิได้เสี่ยงออกผจญภัยเพียงลำพัง มีวีรบุรุษมากมายในอดีตที่เคยออกเดินทางไปก่อน ทุกคนรู้จักเขาวงกตเป็นอย่างดี เราแค่เดินตามเส้นทางของวิถีวีรบุรุษ ที่ๆเราคิดว่าจะเจอความน่ารังเกียจ เราจะเจอพระผู้เป็นเจ้า ที่ๆเราคิดว่าเราจะทำร้ายผู้อื่น เราจะทำร้ายตัวเราเอง ที่ๆเราคิดว่าจะออกไปสู่โลกภายนอก เราจะกลับเข้าสู่ศูนย์กลางภายในตัวเรา ที่ๆเราคิดว่าเราจะอยู่อย่างโดดเดียวลำพังเราจะอยู่กับคนทั้งโลก”
- โจเซฟ แคมแบลล์ ผู้เขียนหนังสือเรื่อง พลานุภาพของเทพปกรณัม The Power of Myth -

เมื่อครั้งเป็นครูโรงเรียนรุ่งอรุณในปีแรกหลังจากจบการละคอน (ที่ธรรมศาสตร์จะใช้คำว่า ละคอนแทนละคร) ได้มีโอกาสสอนวิชาภาษาไทยโดยที่ตัวเองตั้งใจจะนำกระบวนการละครสร้างสรรค์มาใช้ในการพัฒนาการศึกษาของเด็กไทย ถือว่าเป็นความฝันแบบอุดมคติของตัวเองในฐานะนักศึกษาการละครสายกระบวนการ ครั้งนั้นอาจารย์ประภาภัทร นิยม ให้พวกครูได้จัดกระบวนการสอนตามความสนใจภายใน ครูเหล่นจึงไม่รีรอที่จะนำละครมาใช้กับวิชาภาษาไทย และรีบหยิบวรรณคดีไทย เรื่องพระอภัยมณี ตอน กำเนิดสุดสาคร ซึ่งเป็นวรรณคดีไทยที่ประทับใจที่สุดมา มีครูปาด (ศีลวัตร ศุษิลวรณ์) เป็นที่ปรึกษาโครงงานอย่างใกล้ชิด สิ่งที่เกิดขึ้นคือ มีการจัดกระบวนการเชิงสมมติให้เด็กๆได้สวมบทบาทเพื่อล้อตอนต่างๆของสุดสาคร หลายๆกิจกรรมที่ทำกันในตอนนั้น (๑๕ ปีมาแล้ว) มีความใกล้เคียงกับกิจกรรมจิตตปัญญาที่ครูเหล่นได้มีโอกาสเรียนรู้เมื่อ ๔ – ๕ ปีมานี้ ที่สำคัญมีกิจกรรมหนึ่งทำให้เด็กหญิงขี้อายคนหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเด็กร่าเริงและเริ่มช่างคุยอย่างชัดเจนเพียงแค่ข้ามคืน แม้แต่เพื่อนๆในห้องหลายคนยังเอ่ยออกมา โครงงานนี้เกิดขึ้นเพียงแค่ปีเดียว เพราะต้องเปลี่ยนโครงงานไปอีก ๒ โครงงานเนื่องจากตัวเองสอนชั้นคละที่เด็กชั้น ป.๒ ป.๓ และ ป.๔ เรียนร่วมกัน จึงไม่สามารถจัดซ้ำได้ หลังจากนั้นตัวเองก็ออกมาตามฝันที่บ้านเกิดต่อ

ผ่านมาจนถึงวันนี้ยังคงคิดว่าเด็กๆควรจะได้มีโอกาสได้สัมผัสกระบวนการเช่นนี้อีก ยิ่งมาเข้าใจและศึกษามิติของตำนาน นิทาน เรื่องเล่าที่เชื่อมโยงกับจิตใจในระดับต่างๆด้วยแล้ว ยิ่งคิดว่าไม่ควรปล่อยให้ประสบการณ์นี้ผ่านเลยไป

สำหรับเด็กๆโดยเฉพาะวัยเจ็ดปีที่สอง (๘ – ๑๔ ปี) เป็นช่วงที่ฐานใจกำลังเติบโตและพัฒนา เด็กๆจำเป็นต้องได้สำรวจภาวะอารมณ์ต่างๆ เพื่อที่พวกเขาจะได้เข้าใจธรรมชาติของอารมณ์และสามารถแสดงออกตามความต้องการภายในได้เหมาะสม ยิ่งความเข้าใจอารมณ์ที่เกิดจากการได้เรียนรู้ผ่านการกระทำ ความสัมพันธ์และแบบอย่างที่ดีจะเป็นแม่พิมพ์ทางอารมณ์ให้กับเด็กๆ และหากมีการสร้างสถานการณ์ต่างๆในพื้นที่ที่ปลอดภัยจะเป็นการสำรวจและเรียนรู้ หรือซักซ้อมทางอารมณ์เพื่อที่ว่าเมื่อพวกเขาได้เจอะเจอกับสถานการณ์จริงพวกเขาก็มีทางเลือกมากกว่าการแสดงออกตามความเคยชินที่เป็นอัตโนมัติ

ในมิติของปัญญาจากเรื่องเล่ายิ่งเป็นประเด็นที่สำคัญ โบราณกาลใช้การสื่อสารความรู้สึก นึกคิด และสภาวะทางจิตวิญญาณผ่านการแสดงทางสัญลักษณ์ อุปมาอุปมัย บ้างผ่านงานศิลปกรรมทั้งหลาย เรื่องเล่า นิทานและตำนานก็เป็นกลวิธีหนึ่งที่ต้องการสื่อสารความลึกซึ้งต่อความเข้าใจโลก และดูเหมือนจะเป็นทักษะของสมองซีกขวาที่มุ่งเน้นการสื่อสารผ่านอารมณ์ ความรู้สึก มิใช่แค่เพียงแต่ข้อความเท่านั้น แต่เป็นการสื่อสารในระดับการรับรู้และเรียนรู้ที่ฝั่งแน่นในระบบความทรงจำของมนุษย์ นอกจากนี้เรื่องเล่า นิทานและตำนานยังทำให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านได้มีพื้นที่ส่วนตัวสำหรับจินตนาการ เพื่อที่จะซึมซับอรรถรสและความเข้าใจโลกในรูปแบบฉบับของตนเอง


บ้านขวัญเอยจึงคิดว่าเราควรสร้างพื้นที่ให้เด็กๆได้สำรวจความรู้สึก นึกคิดของตัวเองต่อสิ่งต่างๆรอบตัวด้วยทักษะของสมองซีกขวาและฐานใจ ให้พวกเขาได้เกิดปัญญาแบบเฉพาะของแต่ละคน นิทานคำกลอนอันเป็นวรรณคดีแต่โบราณจะมิใช่เพียงแค่ท่องจำ แต่จะสร้างการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆมากมาย เช่น โลกภายนอกกับภายในของตน ภาษากับชีวิต วีรบุรุษในตำนาน นิทานกับเมล็ดพันธ์ผู้กล้าในตนเอง สิ่งที่เห็นธรรมดาๆกับเหตุการณ์ที่ซ้อนกันอยู่

แน่นอนส่วนความสนุกของมิต้องพูดถึง เพราะจะเกิดขึ้นแน่นอนอยู่แล้ว มีใครกันบ้างที่ไม่ชอบ “สุดสาคร”

ในค่ายนอกจากเด็กๆจะได้ฟังนิทานคำกลอน เรื่อง พระอภัยมณี ตอน กำเนิดสุดสาคร แล้วเด็กๆยังสัมผัสกิจกรรมหลากหลาย เช่น การสร้างความสัมพันธ์และการออกจากพื้นที่คุ้นเคย สายใยแห่งรักพ่อ แม่ ลูก เกมละครผ่านการเล่นบทบาทสมมติ การทดลองความท้าทายในด่านต่างๆเพื่อพิสูจน์จิตใจตนเองล้อกับเรื่องสุดสาคร แบบแผนวีรบุรุษในใจฉัน สุนทรียสนทนาแบบเด็กๆ การแสดงละครสร้างสรรค์แบบด้นสด

กระบวนกรหลัก คือ ครูเหล่น นักการละครการศึกษาและกระบวนกรจิตตปัญญา ผู้คลุกคลีทำงานด้านการศึกษา เด็กและเยาวชนมายาวนาน ร่วมกับ ครูอุ๊บอิ๊บ อดีตอาจารย์สาขาศิลปะการละคอน คณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และยังเคยเป็นนักแสดงด้านการเคลื่อนไหวในการแสดงหลายเรื่องทั้งในและต่างประเทศ และทีมผู้ช่วยกระบวนกรสมทบ


***************************************

งานนี้แม่ไม่ได้อยู่ด้วย ก็เลยไม่รู้รายละเอียดของกิจกรรมมากนัก แต่ก็เชื่อว่าสนุกสนานและลึกซึ้ง ได้คุณประโยชน์แก่เด็กๆอย่างแน่นอน เพราะคุณเหล่นเล่นด้านจิตใจค่อนข้างมาก และปฏิกิริยาของซันตอนกลับบ้านมาแต่ละวันก็ดีทีเดียวค่ะ

วันแรก มาลงทะเบียน และเจอเพื่อนๆที่รู้จักบางคนด้วย เปิดตัวด้วยกิจกรรมวงกลมกันก่อน








จากนั้นก็เป็นกิจกรรมต่างๆ เชิญชมได้จากภาพประกอบค่ะ











ศิลปะ ความเป็นแม่ และความอ่อนโยน









สุดสาครลงน้ำ 555 ลีลาแต่ละคนกินกันไม่ลงเลย






สุดสาครถักเชือกคล้องม้า และไปขี่ม้าที่คลองลัดมะยม








กิจกรรมวันสุดท้ายที่ผู้ปกครองร่วมรับชม เด็กๆค้นพบความงดงามของตนเองว่าเขาเป็นสุดสาครแบบไหน และแสดงออกมาให้ทุกคนได้รับรู้






ขอบคุณครูเหล่นและทีมงานทุกคนค่ะ สำหรับกิจกรรมดีๆที่สร้างสรรค์และงดงามเช่นนี้

Wednesday, May 7, 2014

ค่ายวิชาชีวิต ครั้งที่ 4

เมษาปีนี้ ถึงเวลาของค่ายวิชาชีวิตกับครูอั๋น ครูเกด อีกครั้ง ซึ่งยังคงเบสที่โรงเรียนอนุบาลช้างเผือกเหมือนเดิม ปีนี้รายการตามกำหนดการจะเป็นดังนี้ค่ะ

ค่ายวิชาชีวิตก่อนวัยรุ่น ครั้งที่4
Give more value in what ever you do.
วันที่ 1  :  วันที่ 25
กิจกรรมช่วงเช้า : พบกันที่ช้างเผือก 7.00น. ปฐมนิเทศและออกเดินทางไปศูนย์ปฏิบัติธรรม พลาญข่อย พระราม9 เพื่อฝึกสมาธิเหวี่ยง
รับประทานอาหารกลางวันที่นี่

กิจกรรมช่วงบ่าย :
ออกเดินทางไปเยี่ยมผู้ป่วยโรคมะเร็งในเด็กที่ร.พ.เด็ก เป็นจิตอาสาจัดกิจกรรมสันทนาการ ศิลปะบำบัดร่วมกัน ดนตรีบำบัด และพบแพทย์เพื่อเรียนรู้ที่มาของโรคภัย 13.30-14.30 มอบภาพวาดเป็นของที่ระลึกไปมอบให้เพื่อน (เด็กป่วยด้วยโรคสมอง ไต และมะเร็ง อายุ3-18ปี)
15.00 เดินทางออกจากร.พ.มุ่งกลับโรงเรียน

วันที่ 2 : วันที่ 26
07.30 น. เดินทางไปทัศนศึกษาที่วัดโพธิ์ หัวข้อ“ ศิลปะจากแรงศรัทธา”
ศึกษา งานศิลปะที่ทรงคุณค่าจากคนรุ่นก่อน ทำงานสะเก็ต คนละ 1 ชิ้น *** สำรวจ วัสดุของประติมากรรมแต่ละชนิด
สอนโดย อ.อัศวิน
ช่วงท้าย สรุปแนวคิดร่วมกัน และร่วมกันออกแบบงานปั้นกลุ่ม ชิ้นงานต่อไปที่ Seat Studio

อาหารกลางวัน ใกล้วัด

12.00 น. เดินทางไปห้องสมุดTK Park เพื่อสืบค้นข้อมูลที่มาของการป่วยด้วยโรคมะเร็ง ผ่านตำรา จุดเริ่มต้นการรักการอ่าน
16.00 น. เดินทางกลับโรงเรียน

วันที่ 3 : วันที่ 27
กิจกรรมช่วงเช้า :
07.00-08.30 พบหมอบัญชา แดงเนียม เรียนรู้การทำงานร่วมกันระหว่างกายและจิต  หัวข้อ "กายฟิตจิตเฟิร์ม สุขภาพดีตลอดอายุขัย"  โดยเด็กนำเสนอข้อมูลสะท้อนตนเองในการปฏิบัติธรรมและข้อมูลเรื่องโรคมะเร็ง เพื่อสรุปวิถีแห่งการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าและความหมายต่อตนเองและบุคคล ที่รัก

9.00-15.00 น.
ไปเรียนรู้ทุกกระบวนการทำงาน ปั้น เผา เคลือบ ที่ A SEAT STUDIO)
ในหัวข้อ “แรงบันดาลใจแห่งความสุข”
เสร็จในเวลาพร้อมโหลดงานเข้าเตาเผา ก่อน 15.00 น.
เดินทางกลับโรงเรียน

วันที่ 4 : วันที่ 28
พบกัน 08.00 น.ที่ช้างเผือก
ดนตรี การเคลื่นไหวและ การละคร เพื่อการพัฒนาศักยภาพและบุคลิกภาพ ชื่อ"จังหวะดนตรี จังหวะชีวิต"
09.00-16.00น.
กีฬา 16.00-17.00น.

วันที่ 5 : วันที่ 29
เดินทางไปบ้านเด็กชายแรกรับ ร่วมลงมือสร้างสนามบาสเก็ตบอล ที่เด็กค่ายวิชาชีวิตได้เป็นผู้ก่อตั้งกองทุนบริจาค จากการเล่นดนตรีเปิดหมวกเมื่อครั้งที่แล้ว จึงมีผู้สนับสนุนกิจกรรมกุศลร่วมด้วยในครั้งนี้ ได้เงินบริจาคทั้งสิ้น 150,000 คงเหลือเงินบริจาคที่ยังคงต้องระดมเพิ่ม 50,000 บาท
ครูอั๋นครู เกดได้เริ่มโครงการก่อสร้างแล้ว เมื่อวันที่21เมษายนที่ผ่านมา และในวันนี้เด็กค่ายฯและเด็กชายด้อยโอกาสกลุ่มนี้จะร่วมสร้างสนามบาสด้วยกัน ร่วมแรงร่วมใจเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการก่อสร้าง หลังจากนั้น เด็กทั้งสองกลุ่มจะร่วมสร้างงานศิลปะ Grafity สอนโดน อ.อัศวิน
เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของพลังแห่งวัย

กลับโรงเรียน
นำผลงาน2มิติ มาจัดวาง
และนำผลงาน 3 มิติ มาจัดวาง
ทำสำเนา จากงานกลุ่มด้วย สีชอล์กกับกระดาษ100ปอนด์ A3 
นำงานทั้ง2งานเตรียมไปสู่การจัด Exhibition
ให้ร่วมกัน โหวต ว่าหลังจาก Exhibition จบแล้ว จะมอบผลงานชิ้นไหนให้กับ บ้านเด็กชายภูมิเวท

โชว์เคส ผู้ปกครองพบกันโดยพร้อมเพรียงที่อนุบาลช้างเผือก เพื่อชื่นชมการนำเสนอศักยภาพ
ดนตรี การเคลื่อนไหว และการแสดง

นำเสนองานศิลปะและสะท้อนตนเองในการทำงาน ต่อผปค.

อำลาค่ายด้วยปาร์ตี้ผลไม้
 
ขั้นสรุป ทำประเมินร่วมกัน โดยให้เด็กแต่ละคนสะท้อนความรู้สึกของตัวเอง และความรู้สึิิกที่มีต่อกลุ่มตลอดเวลาที่อยู่ในค่าย ให้คุณครูสะท้อนความคิดเห็น และพ่อแม่ร่วมทำประเมิน เย็บเล่มเอกสาร

อำลาค่าย

ขอบคุณผู้ปกครองทุกท่านที่เห็นคุณค่าในการให้เวลาเรียนรู้การสร้างคุณค่าแห่งตน


******************************************

กิจกรรมสร้างความเข้าใจและและสร้างความสัมพันธ์ โดยครูเกด





ไปไหนกันน้า..


ไปยังศูนย์ปฏิบัติธรรม พลาญข่อย พระราม9 เพื่อฝึกสมาธิเหวี่ยง เด็กๆได้มีประสบการณ์ทั้งทางตรงและที่เห็นจากอากัปกิริยาของคนอื่นๆแตกต่างกันไป



อีกวันไปเยี่ยมผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ร.พ.เด็ก เป็นจิตอาสาจัดกิจกรรมสันทนาการ ศิลปะบำบัดร่วมกับ ดนตรีบำบัด และพบแพทย์เพื่อเรียนรู้ที่มาของโรคภัย 13.30-14.30 มอบภาพวาดเป็นของที่ระลึกไปมอบให้เพื่อน (เด็กป่วยด้วยโรคสมอง ไต และมะเร็ง อายุ3-18ปี) (ไม่มีภาพเพื่อความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยค่ะ ) งานนี้เด็กๆจะได้ตระหนักถึงความสำคัญขอการดูแลสุขภาพของตัวเอง และสร้างจิตสำนึกของความเมตตา กรุณา เห็นอกเห็นใจผู้ที่อยู่ในความทุกข์

ทัศนศึกษาที่วัดโพธิ์ หัวข้อ“ ศิลปะจากแรงศรัทธา” ศึกษางานศิลปะที่ทรงคุณค่าจากคนรุ่นก่อน ทำงานสเก็ต คนละ 1 ชิ้น และสำรวจวัสดุของประติมากรรมแต่ละชนิด ช่วงท้าย สรุปแนวคิดร่วมกัน และร่วมกันออกแบบงานปั้นกลุ่ม ชิ้นงานต่อไปที่ Seat Studio











ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่ห้องสมุด TK Park เพื่อมาทำรายงานกลุ่มร่วมกัน และร่วมเล่นกิจกรรมพิเศษ ice skate ตามความสมัครใจ ซันมีหรือจะพลาด


ค่ายคราวนี้ เราได้กลับไปที่บ้านภูมิเวทอีกครั้งเพื่อร่วมสร้างสนามบาสที่ได้ระดมทุนสนับสนุนไว้ตั้งแต่ค่ายคราวก่อน และทำกิจกรรม Graffiti กันร่วมกับเด็กชายบ้านภูมิเวทด้วย






วันสุดท้าย มี showcase ให้ผู้ปกครองได้มาร่วมชื่นชมค่ะ ทั้งงานปั้นสุดฮา งานกราฟิติสุดแนว รายงานการค้นคว้าด้านสุขภาพ ภาพลายเส้น งานปั้นนูนต่ำ และการแสดงประกอบดนตรีสดของเด็กๆตามที่ได้ร่ำเรียนฝึกฝนกันมาในค่าย เรื่อยไปจนถึงการรับใบจบค่าย และพวงมาลัยกราบขอบคุณและร่ำลาคุณครู

ฝีมือแต่ละคน เมื่อนำมารวมกัน


งานกราฟฟิติสุดแนว ครั้งแรกในชีวิตของเด็กๆ


อันนี้ของกลุ่มซัน ได้ข่าวว่าสนุกสนานกันมากกกกก ตอนทำ Graffiti กัน เกทับบลัฟแหลกกันสุดๆ 555


แสดงผลงานที่แต่ละกลุ่มค้นคว้าข้อมูลด้านสุขภาพกันมา



งานสเก็ตจากแรงบันดาลใจที่วัดโพธิ์


ฝีมือซันค่ะ แม่ได้แต่นั่งอมยิ้ม



ปั้นนูนต่ำ ไม่หมูนะ เด็กๆบอก


กิจกรรมดนตรีและการเคลื่อนไหว ที่เด็กๆ showcase วันสุดท้าย






จบแล้วมีหลักฐานให้ด้วย อิอิ



กราบขอบพระคุณคุณครูด้วยความซาบซึ้ง



ขอบพระคุณครูอั๋น ครูเกด และทุกท่านที่เกี่ยวข้องกับค่ายนี้เป็นอย่างยิ่งนะคะ กับความตั้งใจอันยิ่งใหญ่ที่ทำเพื่อเด็กๆตลอดมา รวมทั้งการอ่านมันดาลาให้แต่ละคนอีกด้วย


ขอบคุณ ขอบคุณ และขอบคุณมากๆค่ะ