Friday, July 1, 2011

หนูเป็นนักวิทยาศาสตร์ 1

การทดลองวิทยาศาสตร์พวกนี้ทำได้ง่ายๆ style kitchen science เน้นความตื่นเต้นสนุกสนาน เปิดหูเปิดตาให้เด็ก ก่อให้เกิดความสนใจ สงสัย และรักในการเรียนรู้สิ่งรอบตัว ไม่เน้นการจดบันทึก วินิจวิเคราะห์อะไรมากมาย ไม่เน้นวิชาการ แค่อธิบายคร่าวๆพอเข้าใจได้ง่ายๆตามวัย สรุปว่าเอามัน และสร้างแรงบันดาลใจให้รักวิทยาศาสตร์ค่

เริ่มต้นที่การลองดูว่าการจุดเทียน 2 เล่มที่สูงไม่เท่ากัน ในที่ที่มีอากาศจำกัด จะเกิดอะไรขึ้น


ปรากฏว่าเล่มที่สูงกว่าดับก่อน ต่อมาเล่มเตี้ยก็ดับ เราก็อธิบายว่า การเผาไหม้ต้องใช้ออกซิเจนในอากาศ ซึ่งความร้อนและคาร์บอนไดออกไซด์จะลอยขึ้นด้านบน อากาศที่เย็นกว่าและออกซิเจนที่เหลือจะอยู่ด้านล่าง เทียนเล่มสูงจึงขาดออกซิเจนก่อนและดับไปก่อน แต่ในที่สุดอีกเล่มก็ดับเช่นกัน เมื่อออกซิเจนในขวดหมดไป และถ้าวันหนึ่งเราเกิดไปอยู่ในห้องที่มีไฟไหม้แล้วล่ะก็ ก็ต้องอยู่ตำ่ๆใกล้พื้นเข้าไว้ก็จะหายใจได้สะดวกกว่า


ต่อมาเป็นการทดลองเรื่องการสั่นสะเทือนและการเคลื่อนที่ของอากาศ ก็ใช้ถุงก็อบแก็บตัดมาปิดก้นขวดที่ปาดออก รัดด้วยหนังยางให้ตึง เคาะที่ก้นขวด ก็จะมีลมออกจากปากขวดมาดับเทียนได้


ส่วนอันนี้เกี่ยวกับแรงตึงผิวของของเหลว เมื่อเราหยดสีผสมอาหารลงไปบนจานแบนๆที่ใส่นมอยู่ มันก็จะเป็นหย่อมๆของมันธรรมดา แต่เมื่อใช้คอตตอนบัดแตะนำ้ยาล้างจานลงไปใกล้ๆเพียงเบาๆนิดเดียว สิ่งมหัศจรรย์ก็บังเกิด...


นำ้ยาล้างจานมีสารที่ไปลดแรงตึงผิวของนำ้ในนม และทำให้ไขมันในนำ้แตกตัว เกิดการเคลื่อนที่วิ่งไปชนสีที่หยดไว้ เห็นเป็นลวดลายสวยงามมาก 


อีกอันเกี่ยวกับแรงตึงผิว คราวนี้ก็ให้ซันพยายามลอยเข็มบนนำ้ ดูซิว่าจะทำได้มั้ย ตอนแรกไม่ว่าจะพยายามเบามืออย่างไร ก็ไม่สามารถวางเข็มลงไปบนนำ้ได้ ต่อมาก็ให้ลองเทคนิคใช้ทิชชูวางแผ่บางๆลงไปก่อน ค่อยๆหย่อนเข็มลงไป แล้วก็ค่อยใช้นิ้วกดทิชชูให้จมลง แต่ด้วยแรงตึงผิวของนำ้อันน้อยนิด เข็มก็ลอยได้แล้ว เย้!!!


ต่อกันด้วยการเติมนำ้จนเต็มแก้ว แล้วถามว่า ซันคิดว่าจะใส่เหรียญลงไปได้อีกกี่อัน นำ้จึงจะไหลล้นออกมา ซันว่าสิบอัน แล้วเราก็ลองทำกันดู ปรากฎว่าใส่ได้อีกเยอะมาก และนำ้ก็นูนออกมาเหนือปากแก้วได้มากทีเดียว ทั้งนี้เนื่องจากนำ้มีแรงตึงผิวที่ดึงดูดกันไว้อยู่นั่นเอง


จบจากเรื่องแรงตึงผิว ก็มาดูเรื่องความเป็นกรดด่าง เราทำตัววัด pH ง่ายๆ จากนำ้ต้มกะหลำ่ปลีม่วง แล้วนำไปทดสอบกับสารต่างๆเช่น นำ้มะนาว (กรด) และเบกกิ้งโซดา (ด่าง) พบว่ามันเปลี่ยนเป็นสีชมพู และสีฟ้า ตามลำดับ


ทำนำ้แข็งวิเศษ เปลี่ยนสีนำ้มะนาวได้ด้วย



กลับมาที่เทียนอีกครั้ง (เล่นไฟเนี่ย ของโปรดจริงๆ) เราลองทำเครื่องดับเพลิงกัน เอานำ้ส้มสายชูผสมกับเบกกิ้งโซดาก็ได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว (ซันเคยรู้มาแล้วจากการทดลองที่เคยทำภูเขาไฟกันค่ะ) แล้วเราก็เทสิ่งที่เกิดขึ้นแต่มองไม่เห็นนี้ไปดับไฟได้


อีกการทดลอง เกี่ยวกับการเผาไหม้ใช้ออกซิเจนและเกี่ยวกับแรงดันอากาศ จริงๆอยากใช้ไข่ต้มกับขวดปากกว้างที่ไข่จะตกลงไปได้ แต่หาขวดไม่ได้ค่ะ เลยเอาแก้วกับลูกโป่งใส่นำ้มาทำแทน งานนี้เมื่อเราจุดกระดาษใส่ลงไปในแก้ว และอุดปากแก้วด้วยลูกโป่งทันที ลูกโป่งก็ถูกดูดผลุบลงไปติดอยู่ในแก้ว แถมดึงออกไม่ได้ ในที่สุดเราก็เลยใช้เข็มเจาะ นึกว่ามันจะค่อยรั่วแล้วแฟบลง ที่ไหนได้มันแตกโพละ นำ้เปียกกระจาย น้องซันสนุกใหญ่เลยจ้า


มีทำการทดลองการกัดกร่อนของกรดด้วย ไปเก็บเศษปูนจากบ้านข้างๆที่เค้าทำบ้านอยู่ แช่ในนำ้ส้มสายชู เห็นฟองเกิดขึ้นมากมาย และนานวันไปชิ้นปูนนี้ก็เล็กลงด้วยค่ะ


นอกจากปูนแล้ว เราก็มาดูการย่อยสลายของโปรตีนจากเอนไซม์ด้วย โดยใช้ไข่แช่ในนำ้ผสมนำ้ยาซักผ้าแบบธรรมดา และแบบชีวภาพ ดูซิว่าถ้าเวลาผ่านไป จะเกิดอะไรขึ้นกับไข่ทั้งสองชิ้นนี้ต่างกันหรือไม่ แต่ปรากฏว่ามันไม่ต่างกันแฮะ แช่ไว้ตั้งหลายวัน สงสัยมันเจือจางไปหน่อยมั้ง อิอิ

No comments:

Post a Comment