Saturday, August 13, 2011

ศิลปะจากกระดาษกรอง

สืบเนื่องมาจากการทดลอง chromatography เราก็เอามาประยุกต์เป็นการทำงานศิลปะได้ค่ะ ใช้กระดาษกรองวงกลม 2 แผ่น แผ่นหนึ่งเจาะรูกลมตรงกลางประมาณดินสอผ่านได้ เขียนลวดลายง่ายๆ ด้วยสีเมจิกทั่วไปที่ละลายนำ้ได้ คือไม่ใช่พวกปากกา permanent โดยมากสีที่ออกมาสวยมักเป็นสีเทาและสีนำ้ตาลค่ะ ส่วนอีกแผ่นม้วนเหมือนบุหรี่สอดเข้าไปตรงกลาง แล้วจุ่มขาแท่งกระดาษนี้ลงไปในนำ้ธรรมดาที่สูงประมาณครึ่งหนึ่งของแท่งกระดาษ รอสักครู่ให้นำ้ซึมขึ้นมา เตรียมตัวว้าวได้เลยจ้า

Before


After


ลายอื่นๆที่ทำเล่นกันค่ะ อันมุมล่างขวาฝีมือน้องซัน นอกนั้นของแม่เองจ้ะ 555


Science Week

ช่วงนี้เราทำ Homeschool กัน เป็นการทดลองวิทยาศาสตร์ล้วนๆเลยค่ะ ก็เช่นเคย ไม่เน้นวิชาการมาก แค่ได้สัมผัส ได้รู้จัก สนุก และสร้างความอยากรู้อยากเห็นต่อๆไป

เริ่มกันที่ การทดลองเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก เพราะน้องซันไม่เชื่อว่าวัตถุที่รูปร่างเหมือนกันแต่นำ้หนักต่างกัน จะตกถึงพื้นพร้อมกัน เราเลยลองปล่อยขวดเปล่า กับขวดที่ใส่หินถ่วงไว้ลงจากนอกชานพร้อมๆกัน


การทดลองทดสอบความเป็นกรดด่างของลมหายใจ โดยใช้ indicator เป็นนำ้สีจากดอกอัญชัน เราเคยทดสอบสารที่เป็นกรดกับนำ้กระหลำ่ปลีม่วง ได้สีชมพู เลยจะลองว่า CO2 จากลมหายใจจะทำให้เกิดกรดในนำ้หรือไม่ และจะทดสอบด้วยนำ้สีจากดอกอัญชันได้ผลหรือไม่




ทำนำ้หมึกจากชาและยาเม็ดเสริมธาติเหล็กที่แม่ได้มาตอนไปบริจาคเลือด



แรงเสียดทาน มีผลมากกว่าที่คิด ซันคิดว่าจะสามารถดึงหนังสือสองเล่มนี้ออกจากกันได้ง่ายๆ



แรงดันอากาศทำให้ไม่สามารถเป่ากระดาษก้อนเล็กๆที่วางอยู่ที่ปากขวดเข้าไปในขวดได้


เป่าลูกโป่งในขวด เป่ายังไงก็ไม่โป่ง



 จนกระทั่งเจาะรูระบายอากาศที่ก้นขวดก่อน ก็จะเป่าได้


แถมถ้าอุดรูนี้ไว้ ลมจะไม่ออกจากปากขวด ลูกโป่งก็จะไม่แฟบด้วย เอาไว้เล่นกลแกล้งเพื่อนได้


อีกกลนึงคือใช้ไม้เสียบลูกชิ้น หรือเข็มแหลมๆ แทงทะลุโดยลูกโป่งไม่ยักแตก



อันนี้ทดลองใช้แรงดันอากาศในลูกโป่ง ดันให้เหรียญบาทอุดรอยรั่วจากเข็มไว้ ลูกโป่งก็จะยังไม่แฟบไปอีกนานจ้า



ต่อไปก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้า เราสามารถได้ยินเสียงกระแสไฟจากมันฝรั่งได้ด้วยนะจ๊ะ ยืมวงแหวนสังกะสีที่รองน็อตมาจากขาโต๊ะ และเหรียญสลึงทองแดง



กลับมาที่ดอกอัญชันอีกครั้ง เพราะแถวนี้มีเยอะ เราวาดรูปด้วยกระแสไฟฟ้ากันค่ะ เนื่องจากกระแสไฟที่ออกมาทำให้เกิดความเป็นด่าง เลยเขียนออกมาเป็นสีเขียวๆแบบนี้บนกระดาษกรองชุบนำ้อัญชัน




คราวนี้ก็เอานำ้อัญชันสีนำ้เงิน มาลองใส่โซดาซักผ้า ได้สีเขียวจัด เพราะเป็นด่างมาก ส่วนที่เป็นสีชมพูคือใส่นำ้มะนาวลงไปค่ะ เล่นไปเรื่อย



การทดลองนี้จะทดสอบแป้งด้วยไอโอดีน ซึ่งจะเปลี่ยนจากสีเหลืองๆนำ้ตาลๆไปเป็นสีม่วงหรือนำ้เงิน อุตส่าห์เขียนแยกแยะไว้อย่างดี ปรากฏว่าพอหยดลงไปบนกระดาษเปล่าเพื่อไว้อ้างอิง ดันเป็นสีม่วงซะนี่ เนื่องจากแม่ลืมไปว่าในกระดาษก็มีแป้งน่ะค่ะ


คราวนี้เลยเปลี่ยนมาหยดบนถาดหลุมซะเลย



พยายามเผาหลอดใส่นำ้และนำ้แข็งให้นำ้เดือดแต่นำ้แข็งไม่ละลายหมด


แยกสาร (สีเมจิก) โดยวิธี chromatography แต่อันนี้ไม่ออกเลย


การทดลองเผานำ้ตาลผสมผงฟูเกิดเป็นงูปีศาจตัวดำผุดขึ้นมา โดยเผาบนกองทรายที่พ่นแอลกอฮอล์ไว้




อันนี้เป็นเทอร์โมมิเตอร์ทำเอง แต่ปรากฎว่าหลายวันมานี้อากาศเย็นครึ้มตลอด เลยไม่ได้เอาไปทดลองซักที


หลักการของ เบอร์นูลี่ หรือแรงยกตัวของปีกเครื่องบิน


ทดลองแรงเสียดทานของเมล็ดข้าวสารในกระบอก ถ้าทำถูกต้องเวลาเอาไม้กดลงไปมันจะไม่สามารถทะลุไปอีกด้านได้ แต่งานนี้มีฮาค่ะ



อันนี้เป็นการเกิดเห็นเป็นสีสันต่างๆ จากการหมุนของกระดาษสีดำกับขาว ที่เราเอาไปติดไว้บนซีดีค่ะ เอามาจากในหนังสือค่ะ มันแปลกดี อธิบายไม่ได้ชัดเจน ประมาณว่าแม่เหล็กไฟฟ้าเทียมอะไรนี่ล่ะ แม่ยังงงๆเลย

เอาเหรียญบาทลนไฟ เจาะเข้าไปเป็นที่จับสำหรับหมุนก่อน



พอเราปั่นแบบลูกข่าง จะเห็นเส้นสีต่างๆ เช่น ม่วง เขียว ฟ้า บนกระดาษด้วยล่ะ


อันนี้เรียนรู้เกี่ยวกับจุดศูนย์ถ่วงค่ะ



อันนี้ที่จริงไม่ได้อยู่ใน Science Week ครั้งนี้หรอกค่ะ แต่ขอมาแปะไว้ที่นี่จะได้ไม่ต้องโพสต์แยกออกไป อันนี้ทำช่วง Dec 2011 เป็นการทดลองจุดไม้ขีดใน microwave และ ใส่หลอดตะเกียบเข้าไปใน microwave ดูว่าจะเป็นอย่างไร ค่อนข้างหวาดเสียวนิดนึง ต้องดูแลเรื่องความปลอดภัยดีๆ  แต่สนุกตื่นเต้นเร้าใจมาก และเรื่องแบบนี้ต้องมีผู้ใหญ่ดูแล ซันจะรู้และไม่กล้าทำเองแน่นอนค่ะ





หลอดตะเกียบธรรมดา เอาขั้วแช่น้ำซะหน่อยกันร้อนเกิน เมื่อถูกรังสีไมโครเวฟ ก็เปล่งแสงสว่างเจิดจ้าด้วยตัวเอง ปล่อยทั้งแสงและความร้อนออกมามากมาย



ส่วนอีกอันนี่เป็นการทำยางลบสนุกๆจากชุดทำยางลบสำเร็จรูป ใช้แช่ในน้ำร้อน และกดลงไปในแม่พิมพ์